วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2561

แนวทางปฏิบัติ Green IT


แนวทางปฏิบัติ Green IT สามารถแบ่งได้ตามระดับการใช้งานดังนี้



การใช้งานส่วนบุคคล  เทคโนโลยีที่ใช้เป็นแบบ Standalone PC และ Local disk สถาปัตยกรรมเป็นแบบ Distributed แนวทางปฏิบัติ คือ
1. เลือกใช้ Notebook ที่ ประหยัดพลังงานไฟฟ้ามากกว่า PC ถึงร้อยละ 90
2. เลือกใช้รุ่นที่เหมาะสมกับการทำงานและมีการรับรองการประหยัดพลังงาน Energy Star 4.0
3. ตั้งโหมดประหยัดพลังงานและปิดเครื่องเมื่อเลิกทำงานหรือเวลาพัก
4. ถ้าต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่ควรมอบให้คนที่ต้องการเพื่อนำกลับไปใช้ใหม่


การใช้งานในหน่วยงาน  เทคโนโลยีที่ใช้เป็นแบบ Client/Server และ N-tier DB Server สถาปัตยกรรมเป็นแบบ Centralized แนวทางปฏิบัติ คือ
1. เลือกใช้เซิร์ฟเวอร์ที่รองรับเทคโนโลยี Virtualization
2. ติดตั้งระบบควบคุมการใช้พลังไฟฟ้าแบบอัตโนมัติในห้องเซิร์ฟเวอร์
3. ใช้ Wireless LAN เพื่อลดการใช้สาย
4. เลือกใช้อุปกรณ์แบบ Multi-function
5. จัดสรรอุปกรณ์ให้เหมาะสม กับการใช้งาน



การใช้งานในองค์กร    เทคโนโลยีที่ใช้เป็นแบบ Server, SAN และ WAN/VPN สถาปัตยกรรมเป็นแบบ Centralized แนวทางปฏิบัติ คือ
1. รวมเซิร์ฟเวอร์ให้เป็นศูนย์ข้อมูล
2. ใช้เซิร์ฟเวอร์แบบ Virtualization
3. กำหนดรูปแบบการจัดการการใช้ พลังงานไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ ภายในศูนย์ข้อมูลที่ PUE~3

การใช้งานระหว่างองค์กร   เทคโนโลยีที่ใช้เป็นแบบ Cloud platform และ Cloud storage สถาปัตยกรรมเป็นแบบ Virtual แนวทางปฏิบัติ คือ

1. สามารถเลือกขอใช้บริการ บางอย่างที่ซับซ้อนจากผู้บริการInternet ภายนอกองค์กรเพื่อลดต้นทุน



ขอบคุณที่มา https://goo.gl/qodTst

การนำแนวคิด Green IT ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

การนำแนวคิด Green IT ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

1. ยามชาร์จแบตเตอรี่อุปกรณ์พกพาเมื่อเต็มควรถอดออกทันที เพราะการชาร์จทิ้งไว้จะทำให้เสียพลังงานไปโดยเปล่าประโยชน์ถึง 95%
2. พยายามเปลี่ยนหลอดไฟแบบเดิมๆ เป็นหลอดเกลียวที่เรียกกันว่า CFL เนื่องจากประหยัดไฟและมีอายุการใช้งานที่ยาวกว่ามาก
3. ลดการใช้กระดาษลง หันไปใช้สิ่งทดแทนอย่างเช่น การใช้อีบุ๊กในโทรศัพท์เพื่อจดบันทึกแทน  เพื่อลดการตัดไม้ทำลายป่า
4. พยายามใช้วอลเปเปอร์หน้าจอคอมพิวเตอร์ให้เป็นสีดำ เนื่องจากเป็นการลดพลังงานไฟฟ้า และลดความร้อนที่หน้าจอปล่อยออกมา
5. เปลี่ยนไปใช้จอแสดงผลทั้งจอคอมพิวเตอร์และทีวีให้เป็นแบบ LCD หรือ LED เนื่องจากจะช่วยลดอุณหภูมิห้องได้ถึง 5%
6. ปิดคอมพิวเตอร์ทุกครั้งเมื่อไม่มีการใช้งานนานเกินชั่วโมง หรือเวลาพักเที่ยง โดยตั้งโหมด standby หรือ sleep mode เอาไว้


ขอบคุณข้อมูลจาก https://goo.gl/c7WwKG

เกณฑ์ประเมิน Smart City มีอะไรบ้าง?

เกณฑ์ประเมิน Smart City มีอะไรบ้าง?


1. พลังงานอัจฉริยะ (smart energy)
ตัวชี้วัดพลังงานอัจฉริยะประกอบด้วยค่าพลังงานการใช้ต่อประชากร การผลิตพลังงานทดแทน การผลิตพลังงานณ จุดใช้งานการสะสมพลังงาน ระบบทำความเย็นและความร้อนรวมศูนย์ ระบบบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ การลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ การส่งเสริมการใช้รถไฟฟ้า

2. การสัญจรอัจฉริยะ (smart mobility)
ตัวชี้วัดประกอบด้วยการวางผังโครงสร้างพื้นฐานของระบบพลังงาน ระบบการจ่ายน้ำ ระบบการขนส่ง ระบบโดยสารสาธารณะ การบริหารที่จอดรถ การส่งเสริมการเดิน การใช้จักรยาน การจัดเตรียมสถานพยาบาล ระบบฉุกเฉิน ระบบความปลอดภัย สถานศึกษา สถานที่ท่องเที่ยว การบริหารจัดการขยะ น้ำเสีย

3. ชุมชนอัจฉริยะ (smart community)
ตัวชี้วัดประกอบด้วยการส่งเสริมมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งในด้านความปลอดภัย สวัสดิภาพ สุขภาพ การศึกษา การป้องกันภัยพิบัติ การดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ

4. สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (smart environment)
ตัวชี้วัดประกอบด้วยการรักษาสภาพแวดล้อม ป่าไม้ พืชพันธ์ ระบบนิเวศน์ การส่งเสริมการเกษตร แหล่งผลิตอาหารในเมือง สวนสาธารณะ พื้นที่สีเขียว การบริหารจัดการน้ำ มลภาวะทางน้ำ มลภาวะทางอากาศ  ปรากฏการณ์เกาะความร้อน

5. เศรษฐกิจอัจฉริยะ (smart economy)
ตัวชี้วัดประกอบด้วยโมเดลทางธุรกิจ นวัตกรรมรูปแบบการลงทุน ความสร้างความสามารถในการแข่งขัน การมีส่วนร่วม ความเป็นหุ้นส่วน การบริหารรายได้ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการเมืองที่ยั่งยืน การส่งเสริมการเจริญเติบโตของเขต

6. อาคารอัจฉริยะ (smart building)
ตัวชี้วัดประกอบด้วยการผ่านเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวของสถาบันอาคารเขียวไทย การพัฒนาอาคารที่ใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ ระบบอาคาร/ บ้านอัจฉริยะ

7. การปกครองอัจฉริยะ (smart governance)
ตัวชี้วัดประกอบด้วยหลักความเป็นเมืองอัจฉริยะ ภาวะความเป็นผู้นำ ยุทธศาสตร์ โครงสร้างองค์กร กระบวนการบริหารจัดการ ระบบการวัดผลสำเร็จ




ขอบคุณข้อมูลจาก https://goo.gl/jxMonz

Smart City คืออะไร?

Smart City

Smart City คือ เมืองที่ได้รับการออกแบบ โดยให้ความสำคัญในสามองค์ประกอบหลัก คือ

1. การพัฒนารูปแบบและโครงสร้างของเมืองที่สอดรับกับแนวคิดของเมืองอัจฉริยะ
2. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
3. การส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ประกอบกับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และข้อมูลมาช่วยในการบริหารจัดการทรัพยากรของเมืองเพื่อให้เกิดประโยชน์





https://www.youtube.com/watch?v=vpSLICKnjPc


ขอบคุณข้อมูลจาก https://goo.gl/yhmWuM
                               

Smart Cities น่าอิจฉา ตัวอย่างเมืองดีๆ ที่เทคโนโลยีช่วยพัฒนา

Smart City เป็นโครงการที่หลายๆ เมืองทั่วโลก พยายามพัฒนาให้เข้ากับยุค 4.0 โดยการเอาเทคโนโลยีมาผสานกับการใช้ชีวิตของประชาชน ไม่ว่าจะทั้งด้านการขนส่ง การใช้พลังงาน หรือโครงสร้างพื้นฐาน ที่จะทำให้เมืองที่สะดวกสบายเหมือนในฝัน เกิดขึ้นจริง ทั้งยังทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ดีมีสุขกันด้วย

ถึงแม้ของไทยเราเองจะยังไม่มี Smart City ที่สมบูรณ์เป็นรูปเป็นร่าง แต่หลายๆ จังหวัด หรือมหาวิทยาลัยในบ้านเราตอนนี้ก็กำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาอยู่ แต่ระหว่างที่เรารอจะมีเมือง Smart City The MATTER ขอพามารู้จักกับเมืองสมาร์ท ต้นแบบดีๆ ว่าเค้ามีอะไร พัฒนาไปถึงไหน สะดวกสบายต่อชาวเมืองเขาอย่างไร มาให้ทุกคนได้รู้จักกัน



Amsterdam – Netherlands

ประเทศแสนน่าอยู่อย่าง Netherland ก็ไม่พลาดที่จะมีโครงการพัฒนาเมืองให้ทันสมัยเหมือนกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือเมือง Amsterdam ที่ริเริ่มโครงการ Smart City มาตั้งแต่ปี 2009 และมีโปรเจ็กต์มากกว่า 170 อัน ที่มีการพัฒนาร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ซี่งมีเป้าหมายคือการแก้ปัญหารถติด ประหยัดพลังงาน และพัฒนาสภาพความปลอดภัยของประชาชน

โดยโปรเจ็กต์ที่โดดเด่นของเมืองนี้มีชื่อว่า ‘City-zen’ ที่ต้องการให้เมืองเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดทั้งหมด ทั้งจากพลังงานแสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล และความร้อนใต้ผืนโลก ทั้งยังต้องการรวมการใช้พลังงานเหล่านี้กับระบบเมือง อาคาร และในการใช้ชีวิตของชาวเมืองด้วย เช่นแผนการจัดเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ และยังนำพลังงานส่วนเกินที่ไม่ได้ใช้ไปขายได้ด้วย

Amsterdam ยังมีเป้าหมายในการสร้างเมืองที่มีระบบหมุนเวียน โดยมีโปรเจ็กต์ Circular Amsterdam ที่ต้องการหมุนเวียนเศรษฐกิจของเมือง ทั้งยังรวมถึงการลดของเสียและมลภาวะ ด้วยการรีไซเคิลทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นโครงการการเปลี่ยนน้ำฝนให้การมาเป็นเบียร์ หรือออกแบบวัสดุ ผลิตภัณฑ์เดิมๆ ในรูปแบบใหม่ๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ยังมีโปรเจ็กต์อีกมากมายหลายด้าน เช่น ด้านโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี, การศึกษา, การเคลื่อนที่และขนส่ง, และชีวิตความเป็นอยู่ของพลเมือง เป็นต้น ทั้งยังมีความทันสมัย สมกับเป็นเมืองอัจฉริยะ โดยเราสามารถติดตามรายละเอียดของโปรเจ็กต์ต่างๆ รวมถึงผู้ดำเนินงาน เป้าหมาย ติดตามผล และมีส่วนร่วมได้ตลอดผ่านทางเว็ปไซต์ของเมืองด้วย




Barcelona – Spain

Barcelona เมืองนี้ไม่ได้มีดีแค่ทีมฟุตบอล เพราะยังมีโครงการพัฒนาเมืองดีๆ ให้ทันสมัยด้วย โดยเมือง Barcelona ในประเทศสเปนนี้ เค้าตั้งเป้าให้ตัวเองเป็น Digital City ด้วยการใช้ดิจิทัลและเทคโนโลยีมารองรับ ปรับปรุงชีวิตผู้คนในเมืองนี้ โดยเน้นไปที่การลงทุนในโครงสร้างดิจิตอลพื้นฐานสาธารณะ

ความเป็น Digital ของเมือง Barcelona แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ด้านแรก คือ Digital transformation ที่จะใช้เทคโนโลยีและข้อมูล ในการบริการประชาชน สร้างความโปร่งใสของรัฐบาล และปลูกฝังการมีส่วนร่วม เช่นการมีช่องทาง ‘Ethical Mailbox’ ที่ให้ประชาชนแจ้ง ร้องเรียนการทุจริตโดยตรง หรือโครงการ ‘Open Budget’ ที่เป็นช่องทางให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลงบประมาณ ตรวจสอบการใช้เงินส่วนรวมของภาครัฐได้ตลอดเวลา

ด้านที่สองคือ Digital Innovation ที่สนับสนุนการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีต่างๆ เช่น เทคโนโลยีเซนเซอร์ที่ใช้ในระบบน้ำของสวนสาธารณะ ซึ่งคอยส่งข้อมูลระดับน้ำที่จะใช้สำหรับต้นไม้และพืชต่างๆ เทคโนโลยีเครือข่ายรถบัส ที่มีการเก็บและวิเคราะห์การเดินรถของรถบัสในแต่ละสาย และแต่ละเส้นทาง เพื่อลดปัญหาจราจร และเทคโนโลยีไฟจราจรอัจฉริยะ ที่เมื่อรถฉุกเฉินเช่น รถพยาบาล หรือรถตำรวจผ่านเส้นทางที่มีไฟจราจร จะเปลี่ยนเป็นไฟเขียวอัตโนมัติเลยด้วย

ด้านสุดท้ายคือ Digital Empowerment ที่จะใช้เทคโนโลยีในการสร้างสังคม และชุมชนที่ดี เช่นการผลักดันการศึกษา เปิดคอร์สการฝึกอบรมเทคโนโลยีและการเผยแพร่โปรแกรม การเปิด Fab Labs บริการสาธารณะที่ให้ประชาชนมาเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของการผลิตแบบดิจิตอล และเทคโนโลยีต่างๆ ทั้งยังมีการเปิดพื้นที่ประชาธิปไตย ให้ประชาชนได้ร่วมเสนอนโยบาย เพื่อให้ภาครัฐได้ทำงานกับประชาชนมากขึ้น




Fujisawa – Japan

เมือง Fujisawa Sustainable Smart Town (Fujisawa SST) ในจังหวัดคานากาวะ เป็นเมืองอัจฉริยะที่ได้รับการร่วมมือจากทั้งภาครัฐและเอกชนในการสนับสนุนโครงการต่างๆ โดยเมืองนี้มีบ้านทั้งหมด 1,000 หลัง และมีวิสัยทัศน์ของเมือง 100 ปีแรก ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีเทคโนโลยีระดับสูง ที่สามารถปรับใช้ในชีวิตประจำวันของทุกคนได้

บ้านแต่ละหลังในเมืองนี้จะมีหลังคาเป็นแผงโซลาร์เซลล์ พร้อมแบตเตอรีสำรองพลังงานภายในบ้าน และยังส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าใช้ในครัวเรือนเป็นหลัก ซึ่งไฟฟ้าส่วนเกินที่ผลิตได้ แต่ไม่ได้ใช้สอยนั้น จะถูกขายกลับไปให้หน่อยงานผู้ประกอบการด้านไฟฟ้าด้วย ทั้งตามสถานที่สาธารณะ และพื้นที่ส่วนกลางเองก็ยังมีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลเช่นกัน และหากเกิดเหตุแผ่นดินไหว ภัยพิบัติ ก็อซซิล่าบุก หรือถูกตัดไฟขึ้นมา เมืองนี้ก็สามารถผลิตพลังงานใช้เอง และมีแหล่งทรัพยากรสำรองไว้ใช้สอยอย่างต่อเนื่องได้ถึง 3 วันเลยด้วย !!

นอกจากการผลิตไฟใช้เองแล้ว ในการใช้น้ำเขายังกักเก็บน้ำฝนเอาไว้ใช้กันด้วย เช่นใช้รดน้ำต้นไม้ ล้างรถ ล้างห้องน้ำ ทั้งพาหนะของที่นี่จะใช้พลังงานสีขาว เช่นรถยนต์และรถจักรยานไฟฟ้า โดยมีจุดสำหรับชาร์จพลังงานในบ้านแต่ละหลังและตามพื้นที่สาธารณะด้วย เมืองนี้ยังมีเป้าหมายในการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดการใช้น้ำ และการใช้พลังงานทดแทน

ความปลอดภัยและความมั่นคงทางทรัพย์สินก็เป็นสิ่งสำคัญของเมืองนี้ โดยได้มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดและระบบรักษาความปลอดภัยไว้ทั่วเมือง และยังมีเป้าหมายในการสร้างสังคมที่มีคุณภาพที่คนในชุมชนมีปฏิสัมพันธ์อันดี และมีความสุขร่วมด้วย





ขอบคุณข้อมูลจาก https://goo.gl/yiaQec

Green IT

Green IT คืออะไร ?


Green IT หรือ เทคโนโลยีสีเขียว คือ แนวคิดในการบริหารจัดการ และเลือกใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการการใช้พลังงาน ลดการใช้พลังงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการสร้างขยะ รวมถึงการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์มารีไซเคิลใหม่อีกด้วย ซึ่งเป้าหมายสูงสุดคือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือขยะอิเล็กทรอนิกส์ต้องถูกนำกลับมาใช้ใหม่ได้ทั้งหมด และไม่มีส่วนประกอบที่ทำจากสารพิษ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต้องใช้พลังงานน้อยลง แต่ความสามารถมากขึ้น 
ตามแนวคิดที่ว่า "Maximum Megabytes for Minimum Kilowatts"


ขอบคุณข้อมูลจาก https://goo.gl/KXrwM1

วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2561

การสอนเรื่องต้นคุณนายตื่นสาย โดย Outdoor Learning

การสอน Outdoor Learning เรื่อง ต้นคุณนายตื่นสาย

            การจัดการเรียนการสอนแบบ Outdoor Learning (Hammerman,1994 ) คือการใช้สถานที่นอกห้องเรียน เป็นห้องปฏิบัติการ สำหรับการเรียนการสอนเกี่ยวกับเรื่องธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะให้ ประสบการณ์ตรง และสร้างบรรยากาศในการเรียนการสอน การเรียนรู้นอกห้องเรียนมีความสำคัญต่อการเรียนวิชาต่าง ๆ หลายวิชา โดยเฉพาะวิชา วิทยาศาสตร์ ที่มีความเกี่ยวข้องกับธรรมชาติ และการประยุกต์ใช้ในสภาพความเป็นจริงที่อยู่ ในชีวิตประจำวันของทุกคน


ข้อดีของ Outdoor Learning
           s ผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากสภาพแวดล้อมจริง
            s ผู้เรียนได้สัมผัสกับธรรมชาติช่วยลดความเครียด และวิตกกังวลช่วยยกระดับอารมณ์
            s ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการทำงานร่วมกัน ได้ใช้ทักษะการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ
            s การสัมผัสธรรมชาติ แสงแดด ทำให้ร่างกายได้พัฒนาอย่างถูกต้อง
            s สภาพแวดล้อมช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความตื่นตัวกับการเรียนรู้

ข้อเสียของ Outdoor Learning
s ต้องกำหนดขอบเขตการเรียนรู้ เพราะอาจทำให้ผู้เรียนไม่สามารถเรียนรู้ได้ตรงตามหลักสูตร
s ต้องดูแลความปลอดภัย เพราะอาจเกิดอันตรายเมื่อพานักเรียนออกไปข้างนอก
s ครูต้องมีความตื่นตัวตลอดเวลา 




            คุณนายตื่นสาย หรือ แพรเซี่ยงไฮ้ (Portulaca) จัดเป็นดอกประดับประเภทเลื้อยที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศบราซิล เจริญเติบโตได้ดีในดินทรายหรือดินปนทราย ชอบอากาศร้อน นิยมใช้ปลูกประดับดอก และเป็นพืชคลุมดิน ให้ดอกสีสันสดใส สวยงาม และดอกมีหลายสี



ข้อมูลทั่วไป
             • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Portulaca oleracea L.
             • วงศ์ : Portulacaceae
             • สามัญ 
                    – Portulaca
                    – Purslane
                    – Sun plant
             • ชื่อท้องถิ่น 
                 – แพรเซี่ยงไฮ้
                 – คุณนายตื่นสาย



ทำไมต้นคุณนายตื่นสายถึงบานตอนสาย

                     เนื่องจากต้นคุณนายตื่นสายชอบแสงแดด และอุณหภูมิที่ค่อนข้างสูง จึงทำให้บานรับแสงแดดในช่วงสาย   การที่ดอกคุณนายตื่นสายบานนั้นเกิดจากการตอบสนองของพืชแบบนาสติก (nastic movement) โดยมีปัจจัยภายนอกมากระตุ้น เช่น แสง อุณหภูมิ พบในการหุบบานของดอกไม้ คือเมื่อเนื้อเยื่อผิวด้านในของดอกไม้เติบโตได้ดีกว่าผิวด้านนอก ทำให้กลีบดอกคลี่ออก เรียกว่า เอพินาสติก(epinastic) ในทำนองเดียวกัน เมื่อผิวดอกด้านนอกเติบโตได้ดีกว่าผิวดอกด้านใน จะทำให้กลีบดอกหุบเข้า เรียกว่า ไฮโพนาสติก (hyponastic)   การตอบสนองที่เกิดจากการกระตุ้นของแสง เช่น   การหุบและบานของดอก เกิดจากการกระตุ้นของแสงหรืออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไป

        
การขยายพันธุ์  การเพาะเมล็กและการปักชำ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ดอกในสกุลนี้ส่วนใหญ่เป็นไม้พุ่มต้นเตี้ย การเจริญเติบโตค่อนไปทางเลื้อย ใบมีลักษณะอวบน้ำเป็นแท่งรูปเข็มยาวประมาณ 1 นิ้ว สีเขียวอ่อนเป็นมัน ออกดอกและบานพร้อม ๆ กัน ดอกจะมีขนาดประมาณ 1-2.5 นิ้ว แล้วแต่พันธุ์ กลีบดอกบางมีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อนหลายสี เช่น สี ม่วงอ่อน บานเย็น ส้ม แดง ขาว เหลือง ชมพู




สำหรับการนำการสอนแบบ Outdoor Learning มาใช้ในการสอน
            t พานักเรียนออกไปสำรวจต้นคุณนายตื่นสาย ให้นักเรียนสังเกตลักษณะของต้นคุณนายตื่นสาย
            t ให้นักเรียนทำแผนภาพ Frayer โดยให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ส่วนปะกอบของต้นคุณนายตื่นสาย สาเหตุที่คุณนายตื่นสายบานตอนสาย และการขยายพันธุ์  แล้วให้นักเรียนออกมานำเสนอผลงานของตนเอง


            t หลังจากนั้นทำการทดสอบความรู้โดยการใช้ แอปพลิเคชั่น Plickers

            t ร่วมกันอภิปรายความรู้  ตอบคำถามที่นักเรียนสงสัย

วิดีโอการทำกิจกรรม   

  https://youtu.be/2TOA1ZH9bmQ 


ที่มา      https://goo.gl/HuAvSV
             https://goo.gl/nMtQbn
             https://goo.gl/aT6LGe
            https://goo.gl/wRuwQw